วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วีดีโอเรื่องเล่าเหล็กไหล จาก youtube


แหล่งข้อมูลภาพและเสียง  : www.youtube.com

เหล็กไหลคืออะไร?


เหล็กไหลคืออะไร ในความเป็นจริงแล้วเหล็กไหลก็คือธาตุชนิดหนึ่งในโลก ตัวของเหล็กไหลจริงๆนั้นไม่อาจสามารถระบุได้ว่ามันเป็นธาตุอะไรกันแน่ ทั้งนี้เพราะเหล็กไหลนั้นมีหลายเผ่าพันธุ์ บางชนิดนั้นมีลักษณะเป็นโลหะธาตุแต่ก็ไม่ใช่เหล็ก บางชนิดนั้นมีลักษณะเป็นเนื้อหินไม่ใช่โลหะ ชาวบ้านจะเรียกกันว่า หินไหน บางชนิดนั้นมีลักษณะเป็นเนื้อแก้ว มีทั้งสีเขียว สีดำ บางชิ้นสีออกเหลือง ผู้รู้จะเรียกกันว่า มณีนพรัตน์ แต่เป็นความหมายของเหล็กไหล ไม่ใช่เพชรพลอยอย่างที่เข้าใจกัน

เราสามารถสรุปเหล็กไหลว่าคืออะไรได้ดังนี้ เหล็กไหลคือสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งที่มีจิตวิญญาณ มีชีวิตขั้นพื้นฐานของตนเอง และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสังขารร่างกายอยู่ในรูปร่างของ วัตถุธาตุบางอย่าง มีอยู่หลายชนิดหลายเผ่าพันธุ์ในธรรมชาติ
ประเภทของเหล็กไหลการจัดแบ่งเหล็กไหลนั้นครูบาอาจารย์ท่านจะแบ่งเหล็กไหลออกเป็นสองประเภทหลัก ก่อนที่จะแยกย่อยลงไปคือ
เหล็กไหลประเภทน้ำหนึ่ง หมายถึง เหล็กไหลชั้นยอด ที่สามารถไหลย้อยตัวเองเป็นของเหลวไปตามที่ต่างๆ มีอิทธิฤทธิ์ในการดับพิษไฟทุกชนิด มีศักยภาพในการทำลายดินระเบิด ฟอสฟอรัส เป็นมหาอุดหยุดกระสุนปืน กินพลังงานไฟฟ้าได้
เหล็กไหลประเภทที่สองเรียกว่าเหล็กไหลน้ำรอง หมายถึงรังเหล็กไหลหรือโคตรเหล็กไหล คือเหล็กไหลที่แข็งตัวเองแล้ว ไหลไปมาไม่ได้ แต่สามารถงอกได้ เจริญเติบโตได้ และมักเกาะกลุ่มกันเป็นรังใหญ่บ้าง ก่อตัวคล้ายรังผึ้ง บ้างคล้ายรังต่อหรือจอมปลวก บางชนิดพบในถ้ำ ตามผนังถ้ำ บางชนิดพออยู่ในใต้ดินลึกลงไป
เหล็กไหลประเภทน้ำหนึ่งนี้ถือเป็นของคู่บุญเป็นของเฉพาะตัว ไม่ใช่ของที่ใครๆจะหาได้ง่ายๆ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใฝ่หาเหล็กไหลประเภทน้ำหนึ่งเป็นเรื่องของบุญบารมีเท่านั้น เพราะเหล็กไหลประเภทนี้มีอาถรรพ์ในตัวมาก ผู้ที่ใฝ่หาด้วยความโลภ มักเกิดความวิบัติทั้งทางทรัพย์สินเงินทองจนถึงชีวิตของตนได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=35515

มีเรื่องราวตำนานของเหล็กไหล “ตระกูลแต้มทองทา” มาเล่าให้ฟัง


แร่เหล็กไหลได้รับการยืนยันจากกรมศิลปกร และธรณีวิทยาราชบุรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นมรดกตกทอด สมัยปู่ย่าตายาย ได้รับการตัดแบ่งโดยใช้พิธีทำเป็นน้ำมนต์ หยอดออกมาเป็นชิ้นๆ เป็นมรดกตกทอดมามากกว่า 7  ชั่วคน จากต้นตระกูลไทยทรงดำ(ซัง) ค้นพบที่จังหวัดราชบุรี ตกทอดมาถึงสุพรรณบุรี คุณลุงปอ แต้มทองทา จังหวัดนครสวรรค์ คุณลุงอาง แต้มทองทา จังหวัดพิจิตร คุณพ่อเรียน แต้มทองทา ปัจจุบันอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก อีกหนึ่งก้อนที่ คุณหมอวิชัย แต้มทองทา เป็นผู้รับมรดกเหล็กไหลนี้มา ซึ่งมีขนาดของเหล็กไหล ความกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว เศษๆ น้ำหนัก 8 ขีดครึ่ง   โดย คุณปู่เขียง แต้มทองทา เป็นหมอโบราณประจำตระกูลไทยทรงดำ ผู้คนนับถือกันมากมาย เป็นหมอยา หมอเป่า หมอน้ำมนต์  หมอบ้านหมอเมืองของราชบุรี จะนำแร่เหล็กไหลนี้ มาทำน้ำมนต์ให้ผู้คนอาบ เพื่อชะล้างสิ่งไม่ดีในร่างกาย โดนผีปอบ ผีปลวก หรือโดนมนต์ดำต่างๆ ศัตรูบ่วงมาร มีมารผจญ ก็จะหลุดพ้นไปด้วยดี เป็นแร่เหล็กไหลเพชรกลับ ช่วยสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เสริมบารมี เสริมราศี  

คุณหมอวิชัย  แต้มทองทา  ซึ่งเป็นเจ้าของ แร่เหล็กไหลที่เป็นมรดกมากกว่า 7 ชั่วคน ตรวจเช็คจากกรมทรัพยกรธรณีวิทยา และกรมศิลปกร รับการยืนยันเป็นลายลักษ์อักษรแล้วมอบหลักฐานให้ เพื่อไปเสนอต่อท่านที่สนใจที่จะซื้อ และเสนอขาย เพื่อไม่ใช่เป็นการหลอกลวงใดๆ ทั้งสิ้น
เอกสารหนังสือรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อมูลอ้างอิง : ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประชิด วามานนท์
เลขที่ 63 ซอยเอกมัย 30 (ภาษี2) ถนนเอกมัย กรุงเทพฯ 10110
โทร.บ้าน 02-392-6708 Fax.02-711-5799 มือถือ 081-9886763
โทรศัพท์ที่ทำงาน 02-282-1850 , 02-282-0464 Fax.02-282-1850 , 02-282-0665

MR.Vichai Tamtongta the owner of miraculous iron that has been handed down for seven generations. This element was verified by The Fne Arts Department confirmed by letter and gave some evidences to present to whovere who would like to purchas , and this offering for sade is not lle anyway.

Thank you very much for your attention. 

Best Regards ,
MR.Vichai Tamtongta

ถ้าใครอยากชมบารมีแร่เหล็กไหล ติดต่อได้ที่  คุณหมอวิชัย  แต้มทองทา  โทร.089-5653383

แต่ถ้าใครชอบลองของต้องอ่านกติกานี้ให้ดีนะครับ




คำนิยามคำว่า "วัตถุมงคล" หมายความถึง

วัตถุมงคล ในศาสนาพุทธ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าที่มีขนาดเล็ก สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา พระเครื่องอาจจะรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์ ,พระอริยสงฆ์และเทพเจ้าที่มีขนาดเล็กด้วย
  • วัตถุมงคล เป็นเรื่องของความเชื่อ ศรัทธาในสิ่งของซึ่งอาจเป็นทางด้านศาสนา หรืออาจเป็นตามสมัยนิยมก็ได้ วัตถุมงคลจะมีมากมายในสังคมไทย เช่น พระเครื่อง, พระกริ่ง, พระกริ่งปวเรศ, ปลัดขิก, ผ้ายันต์, ตะกรุด, มีดหมอ, องค์เทพที่เป็นทางศาสนาอื่นๆ เช่น พระพรหม, พระตรีมูรติ, พระราหู
  • วัตถุมงคล ภายนอกกาย หรือ อาจจะเรียกเครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของพระพุทธศาสนา ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนั้นมาจากพุทธคุณ
  • พลังสีต่างๆที่ปรากฏในวัตถุมงคล หมายถึงพละพลังของวัตถุมงคลนั้นที่เปล่งอานุภาพออกมา พิจารณา จากสี ความใส ความกว้างของออร่า การตรวจอำนาจมงคลวัตถุโดยออร่า เช่นภาพถ่ายเป็นกระบวนการที่ใช้วิทยาศาสตร์มารองรับว่ามีพลังงานประจุอยู่ จริง ส่วนผลที่ว่า นำมงคลวัตถุนั้นไปใช้จะเกิดผลตามปรารถนาหรือไม่ ก็เป็นที่ตัวผู้ใช้เอง
  • วัตถุมงคล หมายถึง วัตถุสิ่งของใดๆที่พระเกจิอาจารย์ ฆราวาสหรือผู้รู้ได้ทำการปลุกเสกขึ้นมาเพื่ออุปเท่ห์ในการใช้เครื่องราง เช่น ตะกรุด เบี้ยแก้ ผ้ายันต์ ลูกอม ฯลฯ
  • ของขลัง หมายถึง ของทนสิทธิ์ วัตถุใดๆที่มีดีในตัวเอง โดยพระเกจิอาจารย์ไม่ได้ทำการปลุกเสก เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เหล็กไหล เขี้ยวเสือกลวง เขี้ยวหมูตัน เขากวางคุด ข้าวสารหิน ไม้ไผ่ตัน ฯลฯ ซึ่งจัดอยู่ในประเภท วัตถุมงคล อีกชนิดหนึ่ง
  • วัตถุมงคล ที่เรียกกันว่า เครื่องรางของขลัง หมายถึง ของขลังใดๆที่มีดีในตัว ที่ได้ผ่านกรรมวิธีปลุกเสกหรือลงอักขระโดยพระเกจิอาจารย์ เช่น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุดไม้ไผ่ตัน เขี้ยวเสือกลวงลงอักขระ เบี้ยแก้ ไม้ครู มีดหมอ ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด การสร้าง เครื่องรางของขลัง มีเยอะแยะมากมายเลยครับ ฯลฯ
  • คำว่า "เครื่องรางของขลัง" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้สั้นๆ ว่า
เครื่องราง น. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล ของขลัง น. ของที่มีอํานาจศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สําเร็จได้ดังประสงค์[1]

ประวัติหลวงพ่อพุทธชินราช พิษณุโลก



พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทยองค์หนึ่ง ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราชจำลอง ขึ้นมาแทน
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด แต่มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดารเหนือ คาดว่าน่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ ลงรักปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ 9 พระพุทธชินราชนี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระมียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราชประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราชมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ พระองค์

แหล่งข้อมูล : http://th.wikipedia.org/