วัตถุมงคล ในศาสนาพุทธ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าที่มีขนาดเล็ก สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา พระเครื่องอาจจะรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์ ,พระอริยสงฆ์และเทพเจ้าที่มีขนาดเล็กด้วย
- วัตถุมงคล เป็นเรื่องของความเชื่อ ศรัทธาในสิ่งของซึ่งอาจเป็นทางด้านศาสนา หรืออาจเป็นตามสมัยนิยมก็ได้ วัตถุมงคลจะมีมากมายในสังคมไทย เช่น พระเครื่อง, พระกริ่ง, พระกริ่งปวเรศ, ปลัดขิก, ผ้ายันต์, ตะกรุด, มีดหมอ, องค์เทพที่เป็นทางศาสนาอื่นๆ เช่น พระพรหม, พระตรีมูรติ, พระราหู
- วัตถุมงคล ภายนอกกาย หรือ อาจจะเรียกเครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของพระพุทธศาสนา ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนั้นมาจากพุทธคุณ
- พลังสีต่างๆที่ปรากฏในวัตถุมงคล หมายถึงพละพลังของวัตถุมงคลนั้นที่เปล่งอานุภาพออกมา พิจารณา จากสี ความใส ความกว้างของออร่า การตรวจอำนาจมงคลวัตถุโดยออร่า เช่นภาพถ่ายเป็นกระบวนการที่ใช้วิทยาศาสตร์มารองรับว่ามีพลังงานประจุอยู่ จริง ส่วนผลที่ว่า นำมงคลวัตถุนั้นไปใช้จะเกิดผลตามปรารถนาหรือไม่ ก็เป็นที่ตัวผู้ใช้เอง
- วัตถุมงคล หมายถึง วัตถุสิ่งของใดๆที่พระเกจิอาจารย์ ฆราวาสหรือผู้รู้ได้ทำการปลุกเสกขึ้นมาเพื่ออุปเท่ห์ในการใช้เครื่องราง เช่น ตะกรุด เบี้ยแก้ ผ้ายันต์ ลูกอม ฯลฯ
- ของขลัง หมายถึง ของทนสิทธิ์ วัตถุใดๆที่มีดีในตัวเอง โดยพระเกจิอาจารย์ไม่ได้ทำการปลุกเสก เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เหล็กไหล เขี้ยวเสือกลวง เขี้ยวหมูตัน เขากวางคุด ข้าวสารหิน ไม้ไผ่ตัน ฯลฯ ซึ่งจัดอยู่ในประเภท วัตถุมงคล อีกชนิดหนึ่ง
- วัตถุมงคล ที่เรียกกันว่า เครื่องรางของขลัง หมายถึง ของขลังใดๆที่มีดีในตัว ที่ได้ผ่านกรรมวิธีปลุกเสกหรือลงอักขระโดยพระเกจิอาจารย์ เช่น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุดไม้ไผ่ตัน เขี้ยวเสือกลวงลงอักขระ เบี้ยแก้ ไม้ครู มีดหมอ ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด การสร้าง เครื่องรางของขลัง มีเยอะแยะมากมายเลยครับ ฯลฯ
- คำว่า "เครื่องรางของขลัง" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้สั้นๆ ว่า
เครื่องราง น. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล ของขลัง น. ของที่มีอํานาจศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สําเร็จได้ดังประสงค์[1]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น